วัดในปัตตานี วัดสวย ปัตตานี เก่าแก่

วัดในปัตตานี

หัวข้อแนะนำ

วัดในปัตตานี  ตามเราลงใต้ ไป ไหว้หลวงปู่ทวด กันที่ วัดช้างให้ หรือ วัดราษฎร์บูรณาราม วัดสวย ปัตตานี ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 300 ปี เลยทีเดียวค่ะ อีกทั้งยังเป็น ที่เที่ยวปัตตานี ที่เป็นเหมือนศูนย์รวมจิตใจของชาวใต้ ไม่ว่าใครที่มาถึงปัตตานี ต้องแวะมาเที่ยวชมความสวยงาม และกราบสักการะหลวงปู่ทวด องค์จำลอง กันสักครั้งค่ะ

วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม

วัดในปัตตานี  แต่เดิมชื่อ วัดช้างให้ ค่ะ ตั้งอยู่ที่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี แต่ชาวบ้านในพื้นที่นิยมเรียกว่า วัดช้างให้ ที่นี่เป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งของจังหวัดปัตตานี ที่สร้างมากว่า 300 ปีแล้วค่ะ ภายในวัดยังประดิษฐาน หลวงปู่ทวด องค์จำลองเท่าองค์จริง ที่ผู้คนนิยมมากราบไหว้สักการะ และยังมี อ่างน้ำมนต์ขนาดใหญ่ ที่ให้ผู้คนสามารถปะพรมน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลพระธาตุเจดีย์วัดช้างให้ความโดดเด่นของวัดนี้ ที่ทำให้นักท่องเที่ยวนิยมมาไหว้พระ ทำบุญ และชมความสวยงามก็คือ พระธาตุเจดีย์วัดช้างให้ ซึ่งเป็นเจดีย์ที่มีความสูงถึง 59.09 เมตร รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นเจดีย์ 5 ยอด โดยมีองค์ใหญ่อยู่ตรงกลาง ด้านล่างเป็นห้องโถง มีระเบียงเป็นวิหารคต รอบองค์พระเจดีย์อีกทั้งยังมีฉัตรทองคำหนัก 100 บาท เป็นฉัตร 7 ชั้น ประดับทับทิมประดิษฐานอยู่บนยอดเจดีย์สวยงาม และภายในองค์พระธาตุเจดีย์นั้นได้บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นที่สักการะบูชาอีกด้วยค่ะเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า 300 ปี ภายในวัดจะประดิษฐาน รูปหล่อของ องค์หลวงปู่ทวด และมี อ่างน้ำมนต์ขนาดใหญ่ ที่เราสามารถพรมน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคลได้ด้วย แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนทั่วไปรู้จักกันวัดนี้ ก็คือเรื่องพุทธคุณ แคล้วคลาด และ เมตตามหานิยม จนกลายมาเป็นพระเครื่องที่หลายๆ คนตามหามาบูชากันนั่นเองค่ะ

ประวัติวัดช้างให้

มีตำนานเล่าต่อกันมาว่า พระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรี มีควาดคิดที่จะสร้างเมืองใหม่ โดยได้อธิษฐานปล่อยช้างให้ออกเดินทางไปในป่า โดยมีเจ้าเมืองและไพร่พลเดินติดตามไปด้วย และเมื่อช้างหยุดอยู่ ณ ที่แห่งนี้ แล้วร้องขึ้น 3 ครั้ง จึงสร้างเมืองใหม่ ณ ที่ตรงนั้น แต่น้องสาวไม่ชอบ พระยาแก้มคำจึงให้สร้างวัด ณ บริเวณดังกล่าวแทน แล้วให้ชื่อว่า “วัดช้างให้”อีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ วัดช้างให้ มีชื่อเสียงโด่งดังก็คือ หลวงปู่ทวด พระเกจิอาจารย์ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของคนไทย ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีชีวิตอยู่จริงในสมัยอยุธยา

และตำนานหลวงปู่ทวดที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ ตำนาน หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ซึ่งเป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ทวดได้เดินทางด้วยเรือสำเภาไปยังอยุธยา แต่เกิดพายุ และไม่สามารถเดินทางต่อได้ ระหว่างนั้นน้ำดื่มก็หมดลง หลวงปู่ทวดจึงได้จุ่มเท้าซ้ายลงไปในน้ำทะเล และน้ำบริเวณนั้นกลับกลายเป็นน้ำจืดที่สามารถดื่มได้ ทำให้เป็นที่อัศจรรย์นี่เป็นเพียงตำนานเรื่องหนึ่งของหลวงปู่ทวด ที่เล่าสืบต่อกันมา ยังมีอีกหลายเรื่องที่ทำให้คนไทยเคารพบูชาหลวงปู่ทวดมาจนถึงปัจจุบันนี้ค่ะ อีกทั้งตามประวัติ เมื่อท่านมรณภาพแล้ว ได้มีการนำพระศพท่านมาไว้ที่วัดช้างให้แห่งนี้ ทำให้มีการจัด งานสรงน้ำอัฐิหลวงปู่ทวด เป็นประจำทุกปี ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 ช่วงประมาณเดือนเมษายน นั่นเอง

ข้อมูล วัดช้างให้ ปัตตานี

ที่อยู่ : อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
พิกัด : https://goo.gl/maps/G5Dpbo4MniywD9tG9
เปิดให้เข้าชม : 08.00-16.00 น.
โทร : 09-3363-9198
เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/WatChangHai

วัดมุจลินทวาปีวิหาร

ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร ริมเส้นทางหลวงสายปัตตานี-โคกโพธิ์ ในเขตสุขาภิบาลอำเภอหนองจิกวัดเก่าแก่ที่สร้างเมื่อครั้งที่พระยาวิเชียรภักดีศรีสงครามได้ย้ายที่ว่าการอำเภอหนองจิกจากที่เก่า มาอยู่ที่ตำบลตุยง เมื่อ พ.ศ. 2388 และวัดแห่งนี้เดิมมีชื่อว่า วัดตุยง นั่นเอง ต่อมาเมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองหนองจิก ได้โปรดเกล้าฯ บริจาคเงินเพื่อก่อสร้างพระอุโบสถ แล้วทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดมุจลินทวาปีวิหาร” ปัจจุบันวัดนี้จัดเป็นอารามหลวงที่ได้รับการบูรณะพระอุโบสถให้ดูสวยงามอยู่เสมอ โดยจุดเด่นของวัดคือวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนของอดีตเจ้าอาวาส 3 องค์ โดยเฉพาะพระราชพุทธรังษีหรือหลวงพ่อดำ เจ้าอาวาสองค์ที่ 5 นั้น เป็นที่เลื่องลือถึงคุณความดีของท่าน จนมีผู้เลื่อมใสศรัทธาเดินทางมาสักการะบูชาอยู่ไม่ขาดสาย

วัดตานีนรสโมสร

เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่บนถนนปัตตานีภิรมย์ ริมแม่น้ำปัตตานีฝั่งตลาดเก่า เขตตำบลอาเนาะรู หน้าวัดและหน้าอุโบสถหันลงแม่น้ำทางทิศตะวันตก สร้างในรัชกาลที่ 4 ครั้นมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นวัดประจำเมือง มีชื่อใหม่ว่า“วัดตานีนรสโมสร” มีรูปตราพระเกี้ยวน้อยติดอยู่กับอุโบสถและศาลากลางหลังเก่า ซึ่งได้บูรณะใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2480 ในอุโบสถมีแผ่นศิลาจารึกประวัติการสร้าง และมีแผ่นโลหะรูปหล่อรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 8 ติดอยู่ที่หน้าอุโบสถที่ซุ้มหน้าอุโบสถ มีพระพุทธรูปเนื้อดีบุกแบบนครศรีธรรมราช (ขนมต้ม) สูง 67 เซนติเมตรขนาดหน้าตัก 49 เซนติเมตร ซึ่งนำมาจากจังหวัดสงขลา องค์พระประธานในอุโบสถเป็นพระพุทธรูปสำริดลงรักปิดทอง หน้าตัก 80 เซนติเมตร  วัดในปัตตานี