วัดในน่าน ทำบุญพร้อมชมสถาปัตยกรรมที่งดงาม

วัดในน่าน

หัวข้อแนะนำ

วัดในน่าน  น่านดินแดนในอ้อมกอดของขุนเขาด้านตะวันออกของภาคเหนือ ที่ยังคงดำเนินวิถีชีวิตอย่างสงบสุขและเรียบง่าย โดยมีวิถีวัฒนธรรมของผู้คนชาวไทยลื้อ มีศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้เมืองนี้เต็มไปด้วยมนตร์ขลังที่แฝงด้วยแรงศรัทธาในพุทธศาสนา โดยเฉพาะวัดในเมืองน่าน ที่ผู้คนยังคงรักษาศรัทธาแห่งความเชื่อไว้ได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้น เมื่อไปเยือนเมืองน่านทั้งที ก็ต้องไป ไหว้พระ 9 วัด เพื่อเสริมสิริมงคลให้กับชีวิต แต่จะต้องไปวัดไหนบ้างนั้น อยากรู้ตามเราไปเที่ยวดีกว่า

วัดในน่าน วัดพระธาตุแช่แห้ง

วัดพระธาตุแช่แห้ง

วัดในน่าน  ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่บนเนินทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน สร้างในสมัยเจ้าพระยาการเมือง (เจ้าผู้ครองนครน่านระหว่าง พ.ศ. 1869-1902) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระมหาชินธาตุเจ้า 7 พระองค์ พระพิมพ์เงินและพระพิมพ์ทอง ที่ได้รับพระราชทานจากพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งที่เจ้าพระยาการเมืองเสด็จไปช่วยสร้างวัดหลวงอภัย (วัดป่ามะม่วง จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 1897 องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ทรงระฆัง สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย โดยรอบองค์บุด้วยทองจังโก (ทองดอกบวบ ทองเหลืองผสมทองแดง) ทางขึ้นสู่องค์พระธาตุเป็นตัวพญานาค หน้าบันเหนือประตูทางเข้าพระวิหารเป็นปูนปั้นลายนาคเกี้ยว ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมเมืองน่านพระธาตุแช่แห้ง เป็นพระธาตุประจำปีเถาะ ชาวล้านนาเชื่อว่าหากได้เดินทางไป “ชุธาตุ” หรือนมัสการพระธาตุประจำปีเกิดจะได้รับอานิสงส์อย่างยิ่ง นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชม วัดพระธาตุแช่แห้ง ได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00-18.00 น. การเดินทาง จากตัวเมืองข้ามสะพานแม่น้ำน่าน ไปตามทางหลวงหมายเลข 1168 สายน่าน-แม่จริม ประมาณ 3 กิโลเมตร วัดพระธาตุแช่แห้ง

วัดภูมินทร์

วัดภูมินทร์

วัดภูมินทร์  วัดหลวงที่ตั้งอยู่ในเขตพระนคร ดังปรากฏชื่อตำบลในเวียงในปัจจุบัน อยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดน่าน ตามพงศาวดารของเมืองน่าน พระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์เจ้าผู้ครองนครน่านได้สร้างวัดภูมินทร์ขึ้นหลังจาก ที่ครองนครน่านได้ 6 ปี เมื่อ พ.ศ. 2139 มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” แต่ตอนหลังชื่อวัดได้ เพี้ยนไปจากเดิมเป็น วัดภูมินทร์จุดเด่นของวัดนี้คือเป็นวัดที่สร้างทรงจตุรมุข หนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ดูคล้ายตั้งอยู่บนหลังพญานาค 2 ตัว อาคารนี้เป็นทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร และพระเจดีย์ประธาน โดยใช้อาคารในแนวตะวันออก-ตะวันตกเป็นพระวิหาร และอาคารแนวเหนือ-ใต้ เป็นพระอุโบสถ รัฐบาลไทยเคยพิมพ์รูปวัดภูมินทร์ในธนบัตรใบละ 1 บาท ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกทั้งยังมีจิตรกรรมฝาผนังที่เรียกว่า “ฮูปแต้ม” โดยมีรูปของปู่ม่านย่าม่าน ฉายาภาพคือ ภาพกระซิบรักบันลือโลก นั่นเอง นอกจากนี้ก็ยังมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่อยู่ทั้ง 4 ทิศ เชื่อกันว่าให้เดินวนรอบก่อน 1 รอบ สังเกตว่าพระพุทธรูปองค์ไหนยิ้มให้เรามากที่สุด ก็ให้ขอพรกับองค์นั้น

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร  วัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนถนนสุริยพงษ์ ตรงข้ามสำนักงานเทศบาลเมืองน่าน เดิมเรียก “วัดหลวง” หรือ “วัดหลวงกลางเวียง” สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. 1949 เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน สำหรับเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนา และพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พญาพลเทพฤาชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารหลวงเมื่อ พ.ศ. 2091ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุช้างค้ำนี้ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย อาทิ เจดีย์ทรงลังกา (ทรงระฆัง) รอบฐานองค์พระเจดีย์ก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ 5 เชือก และที่มุมทั้งสี่อีก 4 เชือก ดูคล้ายจะเอาหลังหนุน หรือ “ค้ำ” องค์เจดีย์ไว้ ลักษณะคล้ายวัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัย ภายในวิหารประดิษฐาน พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี พระพุทธรูปสำริดปางประทานอภัย สูง 145 เซนติเมตร อายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 19 ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย ส่วนผสมของทองคำ 65% พระประธานเป็นปูนปั้นขนาดใหญ่ศิลปะเชียงแสน ฝีมือสกุลช่างน่านที่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่ง

วัดมิ่งเมือง และเสาหลักเมืองน่าน

วัดมิ่งเมือง และเสาหลักเมืองน่าน

วัดมิ่งเมือง และเสาหลักเมืองน่าน  วัดสวยที่ตั้งอยู่บนถนนยันตรกิจโกศล (ถนนสุริยพงษ์) ในกลางเมืองน่าน ห่างจากวัดภูมินทร์เพียงแค่ราว ๆ 500 เมตรเท่านั้น โดยวัดมิ่งเมืองเป็นสถานที่ตั้งของเสาหลักเมืองน่าน ซึ่งตั้งอยู่ภายในศาลาจตุรมุข บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถ มีความสูงราว ๆ 3 เมตร ฐานของเสาประดับด้วยไม้แกะสลักลวดลายสวยงาม บริเวณยอดเสาก็มีการแกะสลักเป็นรูปพรหมพักตร์ ส่วนพระอุโบสถของวัดมิ่งเมืองนั้นก็งดงาม มีการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบล้านนาร่วมสมัย ซึ่งได้ช่างชาวเชียงแสนมาเป็นผู้ทำลายปูนปั้นให้กับผนังด้านนอกของอุโบสถ ส่วนด้านในก็จะภาพจิตรกรรมฝาผนังอันสวยงามวิจิตรบรรจงให้ได้ชมกันด้วย

วัดพญาวัด

วัดพญาวัด  ตั้งอยู่ที่บ้านพญาวัด ตำบลดู่ใต้ ตามทางหลวงหมายเลข 101 ก่อนข้ามสะพานเข้าเมืองน่าน มีทางแยกซ้ายมือเข้าทางหลวงหมายเลข 1025 เข้าไปประมาณ 300 เมตร แต่เดิมบริเวณที่ตั้งวัดเป็นเขตศูนย์กลางเมืองน่าน ในสมัยที่ย้ายเมืองจากพระบรมธาตุแช่แห้ง มาตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน เจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงในสมัยพระนางจามเทวี ลักษณะคล้ายเจดีย์กู่กุด จังหวัดลำพูน เป็นทรงซุ้มสี่เหลี่ยมซ้อนกัน 5 ชั้น แต่ละชั้นประดิษฐานพระพุทธรูปยืน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยดังพบที่ สถูปเจดีย์วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย ยอดซุ้มก่ออิฐวงโค้ง เป็นรูปแบบการก่อสร้างสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ แสดงให้เห็นว่ามีการบูรณะในสมัยนั้น ซึ่งเป็นสมัยที่อิทธิพลของศิลปะเชียงใหม่ ได้เข้ามาแทนที่ศิลปะสุโขทัยแล้วในพระอุโบสถประดิษฐาน “พระเจ้าฝนแสนห่า” หรือ “พระเจ้าสายฝน” ซึ่งชาวเมืองน่านเคยนำมาแห่ขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล นอกจากนั้น ยังมีธรรมาสน์แกะสลัก ฝีมือช่างพื้นเมืองน่านที่เก่าที่สุดเท่าที่เคยพบ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยเจ้าอัตถวรปัญโญ ราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 24 วัดในน่าน